วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ประวัติบุญกฐิน

คำว่า”กฐิน” เป็นชื่อของสังฆกรรมชนิดหนึ่งในพระพุทธศาสนา ที่ใช้พระสงฆ์เป็นพยานในการทำ๕รูปเป็นอยางน้อย คือ ๕ รูปเป็นองค์สงฆ์หรือพยาน และอีก ๑ รูปเป็นองค์ครองผ้ากฐิน
นอกจากนี้คำว่า”กฐิน”เป็นชื่อของไม้ชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ขึงในเวลาเย็บจีวร ภาษาไทย เรียกว่า”ไม้สะดึง”ภาษาบาลีใช้คำว่า”กฐิน”ขณะเดียวกันภาษาไทยได้ยืมภาษาบาลีมาเป็นภาษาของตัวเองโดยเรียกทับศัพท์ไปเลยว่า ผ้ากฐินหรือบุญกระฐิน
บุญกฐิน ทีกำหนดทำกันในระหว่างวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ สำหรับจุดประสงค์หลักของการทำบุญกฐินนั้น เพื่อที่จะให้พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษาแล้วได้ มีผ้าผลัดเปลี่ยนใหม่โดยได้มีมูลเหตุของบุญกฐินปรากฏในกฐินขันธะแห่งพระวินัยปิฎก และฏีกาสมันตปาสาทิกา ไว้ว่า สมัยหนึ่ง ได้มีพระภิกษุชาวเมืองปาฐาจำนวน ๓๐ รูป พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ พระเซตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี ขณะนั้นวันจำพรรษาได้ใกล้เข้ามา พวกภิกษุเหล่านั้นจึงได้พากันจำพรรษาที่เมืองพระเซตะวันมหาวิหารตลอดระยะเวลา ๓ เดือนที่จำพรรษาภิกษุเหล่านั้น มีความตั้งใจอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องไปเฝ้าพระพุทธเจ้าให้ได้ ครั้นพอออกพรรษาแล้วจึงพากันออกเดินทางกรำฝนทนแดดร้อนไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
ขณะฤดูฝนยังไม่ทันจะล่วงสนิท ทำให้ภิกษุชาวเมืองปาฐาเหล่านั้น มีจีวรเปียกชุ่ม และเปื้อนด้วยโคลนตม พอไปถึงเขตวันมหาวิหารได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพระองค์ทรงเห็นใจในความยากลำบากของภิกษุเหล่านั้นจึงอนุญาตให้หาผ้ากฐินหรือผ้าที่เย็บด้วยไม้สะดึง มาใช้เปลี่ยนแทนผ้าเก่า ฝ่ายนางวิสาขา มหาอุบาสิกา เมื่อได้ทราบถึงพุทธประสงค์แล้ว นางก็ได้นำผ้ากฐินไปถวายแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประทาน และนางได้เป็นคนแรกที่ได้ถวายผ้ากฐินในพระพุทธศาสนา
การทำผ้ากฐินต้องทำให้แล้วเสร็จภายในวันเดียว จึงเป็นที่มาของ กฐินสามัคคี เนื่องจากต้องรวบรวมผู้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันเย็บผ้ากฐินให้แล้วเสร็จ
#สนามม้านิวส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น