ที่มาของ“คุณทองโบราณ”เป็นโครงกระดูกสุนัขสภาพสมบูรณ์เต็มตัวที่ขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงมรดกโลก ครั้งที่ 2 เมื่อปี 2546 บริเวณพิพิธภัณฑ์เปิดวัดโพธิ์ศรี ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานีบ่งบอกว่าชาวบ้านเชียงในอดีตได้เลี้ยงสุนัขไว้เป็นเพื่อนหรือใช้งานแล้วต่อมา พญ.คุณหญิงอัมพร สุคนธมาน พร้อมด้วย นสพ.นพกฤษณ์ จันทิก ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและนำตัวอย่าง“กราม”ไปให้ทอดพระเนตร ซึ่งทรงตรัสให้นำกลับไปเก็บรักษาไว้และพระราชทานนามว่า “คุณทองโบราณ”
จังหวัดอุดรธานีได้เห็นถึงความสำคัญ ของโครงกระดูกสุนัขคุณทองโบราณ จึงได้ดัดแปลงให้เป็นมาสคอต ประจำจังหวัดอุดรธานี เพื่อเป็นตัวแทนการท่องเที่ยว และภาพลักษณ์ของจังหวัดอุดรธานี โดยได้เชิญชวนให้ส่งผลงานเข้าประกวด และได้คัดเลือกผลงานของนายอนิรุทธ์ เอมอิ่ม ที่คุณทองโบราณมีจุดเด่น สวมกางเกงรูปทรงไหบ้านเชียง แทนแหล่งอารยะธรรมที่มีคุณค่าของอุดรธานี สวมผ้าพันคอจากผ้ามัดหมี่ย้อมคราม แทนหัตถกรรมทอผ้าที่เป็นที่รู้จัก และใบหน้ายังบงบอกถึงความน่ารัก และเป็นมิตร
ที่มา : https://www.posttoday.com/social/local/517570
วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561
วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561
งูอะไร? ทำไมพิษถึงรุนแรงขนาดนี้
อย่าเพิ่งตื่นตระหนกเรื่องของงูชนิดนี้
ตอนนี้ก็ได้มีการแชร์ภาพของงูชนิดหนึ่ง ที่กัดคนจนเกิดอาการเนื้อตายจนต้องตัดนิ้วทิ้งไป ความน่ากลัวของภาพได้ทำให้เกิดความวิตกกังวล และมีความเข้าใจผิดว่างูในภาพเป็นงูกะปะ หรืองูแมวเซา
ความจริงแล้วมันคืองู Chinese moccasin ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า (Deinagkistrodon acutus) ชุดภาพนี้ถูกแชร์มาตั้งแต่ปี 2017 และได้มีการสร้างความเข้าใจกันไปแล้ว
เท่าที่สืบทราบมา ภาพดังกล่าวถูกแชร์ออกมาเพื่อให้เห็นผลของพิษงู ที่ไม่ได้รับการรักษาแบบทันท่วงที และพิษของงูชนิดนี้มีผลทำลายเนื้อเยื่ออย่างรุนแรง ถึงขั้นเกิดอาการเนื้อตายจนต้องตัดนิ้วทิ้ง
งูชนิดนี้เป็นงูที่มีถิ่นแพร่กระจายอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ไต้หวัน ทางตอนเหนือของเวียดนาม และอาจจะเจอในลาว แต่ไม่มีรายงานการพบในประเทศไทย ไม่มีชื่อภาษาไทย งูชนิดนี้ยาวได้ 1-1.5 เมตร เป็นงูอยู่ในครอบครัว Viper ที่จะมีลักษณะเด่นคือ มีเขียวยาวเป็นบานพับ
ในปัจจุบันก็มีการแชร์ชุดภาพนี้ซ้ำอีกครั้งและเกิดความสับสนกันพอสมควร เราจึงมาอธิบายอีกครั้ง ให้เข้าใจและหายวิตกกังวลกันว่ามันไม่ใช่งูกะปะ หรืองูแมวเซา และยังไม่มีรายงานการพบตัวในประเทศไทยแต่อย่างไร
อย่างไรก็ตามผมและเพื่อนๆก็พยายามจะให้ข้อมูลข้อเท็จจริงกับสังคม จะได้ไม่สร้างความแตกตื่น หรือเกิดความเข้าใจผิดกันมากไปกว่านี้
...ตอนนี้ก็ลุ้นเพียงแค่ว่า เรื่องจริงจะน่าสนใจแชร์ เท่ากับเรื่องไม่จริงหรือเปล่า รอลุ้นไป
Cr.Nick Chomngam
งู Chinese moccasin และผลจากพิษของมัน
งูแมวเซา
งูกะปะ
วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
เดือนนี้เป็นบุญเดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน
ประเพณีบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า เป็นอีกหนึ่งประเพณีที่สืบทอดกันมาในภาคอีสาน โดยบุญข้าวประดับดิน เป็นงานประเพณีที่ถูกจัดขึ้นในวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า ของทุก ๆ ปี
ทั้งนี้ในการทำบุญข้าวประดับดินนั้น ชาวบ้านจะนำข้าวปลา อาหาร คาวหวาน ผลไม้ หมาก พลู บุหรี่ มาห่อด้วยใบตอง และทำเป็นห่อเล็ก ๆ ก่อนจะนำไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่หรือตามพื้นดินบริเวณรอบ ๆ เจดีย์ หรือโบสถ์ โดยการทำบุญข้าวประดับดินนี้ ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงอุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรก หรือเปรต
นอกจากนี้ บุญข้าวประดับดิน ยังถือว่าเป็นการให้ทานแก่ผู้ยากไร้รวมทั้งสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ ที่ต้องหิว อดมื้อกินมื้อมาตลอดทั้งปีอีกด้วย เพราะการที่ตั้งอาหารไว้ที่พื้นทำให้สัตว์เหล่านั้นสามารถเข้ามากินอาหารได้อย่างเต็มที่
ความเป็นมาบุญข้าวประดับดิน
การทำบุญข้าวประดับดินนี้ เกิดจากความเชื่อตามนิทานธรรมบทว่า ญาติของพระเจ้าพิมพิสาร ได้ยักยอกเงินวัดไปเป็นของตนเอง ครั้นตายไปแล้วได้ไปเกิดเป็นเปรตในนรก และเมื่อพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้วมิได้อุทิศให้ญาติที่ตาย กลางคืนพวกญาติที่ตายมาแสดงตัวเปล่งเสียงน่ากลัวให้ปรากฏใกล้พระราชนิเวศน์ รุ่งเช้าได้เสด็จไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทูลเหตุุให้ทราบ พระเจ้าพิมพิสารจึงถวายทานอีก แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ ญาติที่ตายไปจึงได้รับส่วนกุศล ดังนั้น การทำบุญข้าวประดับดิน คือการทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ญาติผู้ตายแล้ว ถือเป็นประเพณีที่ต้องทำเป็นประจำทุกปี
ประวัติบุญข้าวประดับดิน ประเพณีบุญเดือนเก้าของชาวอีสาน
พิธีกรรมบุญข้าวประดับดิน มีดังนี้
1. วันแรม 13 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะเตรียมข้าวต้ม ขนม อาหารคาวหวาน หมาก พลู และบุหรี่ไว้ 4 ส่วน ส่วนหนึ่งเลี้ยงดูกันภายในครอบครัว ส่วนที่สองแจกให้ญาติพี่น้อง ส่วนที่สามอุทิศให้ญาติที่ตายไปแล้ว และส่วนที่สี่นำไปถวายพระสงฆ์
ในส่วนที่สาม ญาติโยมจะห่อข้าวน้อย ซึ่งมีวิธีการห่อคือ ใช้ใบตองห่อขนาดเท่าฝ่ามือ ส่วนความยาวนั้นให้ยาวสุดซีกของใบตอง
2. วันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะไปวัดตั้งแต่เวลาตี 4 เพื่อนำสิ่งของที่เตรียมไว้จัดใส่กระทง หรือเย็บเป็นห่อเหมือนข้าวสากไปวางอุทิศส่วนกุศลตามที่ต่าง ๆ ซึ่งการวางแบบนี้ เรียกว่า การวางห่อข้าวน้อย แต่หากเป็นการนำไปวางในวัด จะเรียกว่า การยาย (วางเป็นระยะ ๆ ) ห่อข้าวน้อย ซึ่งเวลานำไปวางจะพากันไปทำอย่างเงียบ ๆ ไม่มีการตีฆ้อง ตีกลองแต่อย่างใด
3. หลังจากวางเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะกลับบ้านเพื่อเตรียมอาหารทำบุญที่วัดอีกทีหนึ่งในตอนเช้า เมื่อพระสงฆ์ฉันเช้าเสร็จก็จะเทศน์ฉลองบุญข้าวประดับดิน ต่อจากนั้น ชาวบ้านจะนำปัจจัยไทยทานถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ให้พรเสร็จ ชาวบ้านที่มาทำบุญก็จะกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้วทุก ๆ คน
สำหรับอาหารคาวหวานที่ใส่ห่อในการทำบุญข้าวประดับดิน อาจมีดังนี้
1. ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ 1 ก้อน
2. เนื้อปลา เนื้อไก่ หมู และใส่ลงไปเล็กน้อย ถือว่าเป็นอาหารคาว
3. กล้วย น้อยหน่า ฝรั่ง มะละกอ มันแกว อ้อย มะละกอสุก หรือขนมหวานอื่น ๆ ลงไป (ถือเป็นอาหารหวาน)
4. หมากหนึ่งคำ บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งคำ
พอได้เรียนรู้ประเพณีดี ๆ ของภาคอีสาน อย่างประเพณีบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้ากันแล้ว ก็เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคอีสานคงช่วยกันสานต่อประเพณีบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า ให้รุ่นลูก รุ่นหลานได้มีโอกาสเรียนรู้ประเพณี และวัฒนธรรมดี ๆ แบบนี้ด้วยเช่นกัน
เดือนนี้เป็นบุญเดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน
ประเพณีบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า เป็นอีกหนึ่งประเพณีที่สืบทอดกันมาในภาคอีสาน โดยบุญข้าวประดับดิน เป็นงานประเพณีที่ถูกจัดขึ้นในวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า ของทุก ๆ ปี
ทั้งนี้ในการทำบุญข้าวประดับดินนั้น ชาวบ้านจะนำข้าวปลา อาหาร คาวหวาน ผลไม้ หมาก พลู บุหรี่ มาห่อด้วยใบตอง และทำเป็นห่อเล็ก ๆ ก่อนจะนำไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่หรือตามพื้นดินบริเวณรอบ ๆ เจดีย์ หรือโบสถ์ โดยการทำบุญข้าวประดับดินนี้ ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงอุทิศส่วนกุศลให้กับสัตว์นรก หรือเปรต
นอกจากนี้ บุญข้าวประดับดิน ยังถือว่าเป็นการให้ทานแก่ผู้ยากไร้รวมทั้งสัตว์ที่ไม่มีเจ้าของ ที่ต้องหิว อดมื้อกินมื้อมาตลอดทั้งปีอีกด้วย เพราะการที่ตั้งอาหารไว้ที่พื้นทำให้สัตว์เหล่านั้นสามารถเข้ามากินอาหารได้อย่างเต็มที่
ความเป็นมาบุญข้าวประดับดิน
การทำบุญข้าวประดับดินนี้ เกิดจากความเชื่อตามนิทานธรรมบทว่า ญาติของพระเจ้าพิมพิสาร ได้ยักยอกเงินวัดไปเป็นของตนเอง ครั้นตายไปแล้วได้ไปเกิดเป็นเปรตในนรก และเมื่อพระเจ้าพิมพิสารถวายทานแด่พระพุทธเจ้าแล้วมิได้อุทิศให้ญาติที่ตาย กลางคืนพวกญาติที่ตายมาแสดงตัวเปล่งเสียงน่ากลัวให้ปรากฏใกล้พระราชนิเวศน์ รุ่งเช้าได้เสด็จไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทูลเหตุุให้ทราบ พระเจ้าพิมพิสารจึงถวายทานอีก แล้วอุทิศส่วนกุศลไปให้ ญาติที่ตายไปจึงได้รับส่วนกุศล ดังนั้น การทำบุญข้าวประดับดิน คือการทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่ญาติผู้ตายแล้ว ถือเป็นประเพณีที่ต้องทำเป็นประจำทุกปี
ประวัติบุญข้าวประดับดิน ประเพณีบุญเดือนเก้าของชาวอีสาน
พิธีกรรมบุญข้าวประดับดิน มีดังนี้
1. วันแรม 13 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะเตรียมข้าวต้ม ขนม อาหารคาวหวาน หมาก พลู และบุหรี่ไว้ 4 ส่วน ส่วนหนึ่งเลี้ยงดูกันภายในครอบครัว ส่วนที่สองแจกให้ญาติพี่น้อง ส่วนที่สามอุทิศให้ญาติที่ตายไปแล้ว และส่วนที่สี่นำไปถวายพระสงฆ์
ในส่วนที่สาม ญาติโยมจะห่อข้าวน้อย ซึ่งมีวิธีการห่อคือ ใช้ใบตองห่อขนาดเท่าฝ่ามือ ส่วนความยาวนั้นให้ยาวสุดซีกของใบตอง
2. วันแรม 14 ค่ำ เดือน 9 ชาวบ้านจะไปวัดตั้งแต่เวลาตี 4 เพื่อนำสิ่งของที่เตรียมไว้จัดใส่กระทง หรือเย็บเป็นห่อเหมือนข้าวสากไปวางอุทิศส่วนกุศลตามที่ต่าง ๆ ซึ่งการวางแบบนี้ เรียกว่า การวางห่อข้าวน้อย แต่หากเป็นการนำไปวางในวัด จะเรียกว่า การยาย (วางเป็นระยะ ๆ ) ห่อข้าวน้อย ซึ่งเวลานำไปวางจะพากันไปทำอย่างเงียบ ๆ ไม่มีการตีฆ้อง ตีกลองแต่อย่างใด
3. หลังจากวางเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะกลับบ้านเพื่อเตรียมอาหารทำบุญที่วัดอีกทีหนึ่งในตอนเช้า เมื่อพระสงฆ์ฉันเช้าเสร็จก็จะเทศน์ฉลองบุญข้าวประดับดิน ต่อจากนั้น ชาวบ้านจะนำปัจจัยไทยทานถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ให้พรเสร็จ ชาวบ้านที่มาทำบุญก็จะกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้วทุก ๆ คน
สำหรับอาหารคาวหวานที่ใส่ห่อในการทำบุญข้าวประดับดิน อาจมีดังนี้
1. ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือ 1 ก้อน
2. เนื้อปลา เนื้อไก่ หมู และใส่ลงไปเล็กน้อย ถือว่าเป็นอาหารคาว
3. กล้วย น้อยหน่า ฝรั่ง มะละกอ มันแกว อ้อย มะละกอสุก หรือขนมหวานอื่น ๆ ลงไป (ถือเป็นอาหารหวาน)
4. หมากหนึ่งคำ บุหรี่หนึ่งมวน เมี่ยงหนึ่งคำ
พอได้เรียนรู้ประเพณีดี ๆ ของภาคอีสาน อย่างประเพณีบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้ากันแล้ว ก็เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ภาคอีสานคงช่วยกันสานต่อประเพณีบุญข้าวประดับดิน บุญเดือนเก้า ให้รุ่นลูก รุ่นหลานได้มีโอกาสเรียนรู้ประเพณี และวัฒนธรรมดี ๆ แบบนี้ด้วยเช่นกัน
วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)